เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



ประวัติพระสุภูติเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรที่ 3 ต่อไปนี้.
บทว่า อรณวิหารีนํ ได้แก่ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ จริงอยู่
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นท่านเรียกว่า รณะ ชื่อว่าผู้มีปกติอยู่
โดยหากิเลสมิได้ เพราะไม่มีกิเลสที่ชื่อว่ารณะ นั้น, ชื่อว่า ผู้มีปกติ
อยู่โดยหากิเลสมิได้ อรณวิหารนั้นมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ พระสุภูติเถระเป็นยอดของเหล่า
ภิกษุผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้เหล่านั้น จริงอยู่พระขีณาสพ
แม้เหล่าอื่น ก็ชื่อว่า อรณวิหารี ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระเถระก็ได้
ชื่ออย่างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่าอื่น เมื่อแสดงธรรม
ย่อมกระทำเจาะจงกล่าวคุณบ้าง โทษบ้าง ส่วนพระเถระเมื่อแสดง
ธรรมก็แสดงไม่ออกจากข้อกำหนดที่พระศาสดาแสดงแล้ว. เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุมีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ประวัติพระสุภูติเถระ



พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทกฺขิเณยฺยานํ แปลว่า ผู้ควรแก่ทักษิณา พระขีณาสพ
ทั้งหลายเหล่าอื่นก็ชื่อว่า พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ในบทว่า
ทกฺขิเณยฺยานํ นั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถระกำลังบิณฑบาต
ก็เข้าฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ ออกจากสมาบัติแล้ว จึงรับภิกษา
ในเรือนทุกหลัง ด้วยทายกผู้ถวายภิกษาจักมีผลมาก เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ผู้ควรแก่ทักขิณา อัตภาพของท่านงามดี รุ่งเรื่อง
อย่างยิ่งดุจซุ้มประตูที่เขาประดับแล้วและเหมือนแผ่นผ้าวิจิตร
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สุภูติ ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับดังต่อไปนี้ :-
เล่ากันว่า ท่านสุภูตินี้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
ในกงหงสวดี ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า นันทมาณพ ท่าน
เจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น พร้อมด้วย
บริวารของตนมีมาณพประมาณ 44,000 คนออกบวชเป็นฤาษี
อยู่ ณ เชิงบรรพต ทำอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ให้บังเกิดแล้ว
ได้กระทำแม้อันเตวาสิกทั้งหลายให้ได้ฌานแล้ว. ในสมัยนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระทรงบังเกิดในโลก ทรงอาศัย
กรุงหงสวดีประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตวโลก